MOU คือ อะไร
MOU คือ
MOU (Memorandum of Understanding)
คือ เอกสารบันทึกข้อตกลงและความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายด้วย ที่มีการตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ในการมีข้อตกลงเรื่องการส่งออกและนำเข้าแรงงาน ที่เรียกว่า “แรงงาน MOU” ซึ่งในประเทศไทยที่มีการทำข้อตกลงกัน จะมีแรงงานต่างด้าว MOU 4 สัญชาติ จากประเทศใกล้เคียงนั่นเอง
MOU มีกี่ประเภท
สำหรับแรงงานต่างด้าว MOU ในประเทศไทย จะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังนี้
- 1.แรงงานต่างด้าว กลุ่มมติ ครม. หรือ พิสูจน์สัญชาติเดิม
- 2.แรงงานต่างด้าวที่ผ่านกระบวนการนำเข้า MOU
MOU มีกี่สัญชาติ
ปัจจุบันแรงงานต่างด้าว MOU จะมีอยู่ 4 สัญชาติ คือ .
- พม่า/เมียนม่า
- กัมพูชา
- ลาว
- เวียดนาม
MOU
คืออะไร
MOU (บันทึกความเข้าใจ) คือข้อตกลงว่าด้วยการนำแรงงานข้ามชาติเข้ามาในประเทศ ซึ่งลงนามและได้รับการยืนยันจากผู้แทนของประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันทางกฎหมายในประเทศไทย แรงงานนำเข้าสามารถทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายตามกฎหมายแรงงาน และได้รับใบอนุญาตทำงาน 2 ปี (E-Work Permit) ซึ่งสามารถต่ออายุได้ 2 ปี รวมเป็น 4 ปี นายจ้างสามารถต่อสัญญาจ้างได้หลายครั้ง พวกเขาสามารถกลับเข้าสู่ระบบได้ทุกๆ สี่ปีจนกว่าคนงานต่างด้าวจะอายุครบ 55 ปี
...................................................................................................................................................................................................................................
6 กรณี MOU ที่สามารถ
เปลี่ยนนายจ้างได้ ต้องเข้าเงื่อนโขดังนี้
- นายจ้างเสียชีวิต หรือกิจการล้มละลาย
- นายจ้างทำร้ายร่างกาย / กระทำทารุณกรรม ลูกจ้าง
- นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง
- ให้ลูกจ้างทำงานในสภาพอันตรายต่อชีวิตหรือสุขอนามัย
- นายจ้างใหม่ / คนต่างด้าว ยินยอมชดใช้ ค่าเสียหายให้นายจ้างเดิม
- หากแรงงานต่างด้าวนั้นเป็นบุคคลที่นายจ้างเป็นคนนำเข้ามา นายจ้างใหม่ต้องวาง หลักประกัน 1,000 บาทต่อคน
...................................................................................................................................................................................................................................
"ซึ่งเหตุผลการแจ้งออกและจะเปลี่ยนนายจ้างได้ต้องใช้คำว่า "เลิกจ้าง" เท่านั้น "
ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวต้องขออนุญาตทำงานกับนายจ้างใหม่ภายใน 30 วัน นับจากออกจากนายจ้างเดิม"
กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวถือบัตรสีชมพู และได้รับการพิสูจน์สัญชาติ
เงื่อนไข : เปลี่ยนได้เมื่อออกจากนายจ้างเดิมโดยมิใช่ความผิดของตน อาทิ
- ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันควร เช่น นายจ้างขาดสภาพคล่อง ลดพนักงาน
- นายจ้างเสียชีวิต เลิกกิจการ
- นายจ้างทำร้ายร่างกาย / กระทำการทารุณลูกจ้าง
- นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง
- ให้ลูกจ้างทำงานในสภาพอันตรายต่อชีวิตหรือสุขอนามัย
ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวต้องขออนุญาตทำงานกับนายจ้างใหม่ ภายใน 15 วัน นับจากออกจากนายจ้างเดิม

...................................................................................................................................................................................................................................
140/20 หมู่ที่ 4 ตำบลนาป่า
อำเภอเมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20000